เมนู

อรรถกถาปฏิสารณียสูตรที่ 9


ปฏิสารณียสูตรที่ 9

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ธมฺมิกญฺจ คิหิปฏิสฺสวํ ความว่า เมื่อคฤหัสถ์
อาราธนาว่า ท่านอยู่เสียในที่นี้แหละตลอดไตรมาสนี้ ก็รับคำ
โดยนัยเป็นต้นว่า จบเป็นอย่างนั้นเถิด ชื่อว่าปฏิสวะรับคำ. บทว่า
น สจฺจาเปติ ได้แก่ ไม่กระทำคำสัตย์ คือกล่าวให้คลาดเคลื่อน.
จบ อรรถกถาปฏิสารณียสูตรที่ 9

10. วัตตสูตร


[200] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อันสงฆ์ลงตัสสปา-
ปิยสิกากรรม ต้องประพฤติชอบในธรรม 8 ประการ คือ ไม่พึงให้
อุปสมบท 1 ไม่พึงให้นิสัย 1 ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 1 ไม่พึง
ยินดีการสมมติตนเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี 1 แม้ได้รับสมมติแล้ว
ก็ไม่พึงโอวาทภิกษุณี 1 ไม่พึงยินดีการได้รับสมมติจากสงฆ์ไร ๆ 1
ไม่พึงนิยมในตำแหน่งหัวหน้าตำแหน่งไร 1 ไม่พึงให้ประพฤติ
วุฏฐานวพิธีเพราะตำแหน่งเดิมนั้น 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้อันสงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแล้ว พึงประพฤติชอบในธรรม
8 ประการนื้.
จบ วัตตสูตรที่ 13

อรรถกถาวัตตสูตรที่ 10


วัตตสูตรที่ 10

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปจฺเจกฏฺฐาเน ได้แก่ ในตำแหน่งอธิบดีสงฆ์ คือ
ในตำแหน่งหัวหน้า. จริงอยู่ (ไม่) ควรทำผู้นั้นให้เป็นหัวหน้าแล้ว
ทำสังฆกรรมอะไร ๆ. บทว่า น จ เตน มูเลน วุฏฺฐาเปตพฺพํ ความว่า
จะทำกรรม คืออัพภาน เรียกเข้าหมู่สงฆ์และวุฏฐานออกจากครุกาบัติ
ทำผู้นั้นให้เป็นมูล คือหัวหน้าไม่ได้ คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถ
ง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาวัตตสูตรที่ 10